top of page

สโมสรไลออนส์สากลประเทศไทย

LCI_emblem_2color_web.png

            ประมาณกลางปี พ.ศ.2500 ไลออน เอ็ช. ปันโคล ซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมสโมสรไลออนส์สากล ประจำภาคเอเซียตะวันตกและมีสำนักงานประจำอยู่ที่นครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมาหาทางดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นในกรุงเทพมหานครให้ได้ เขามุ่งตรงไปสำนักงานยูซิส ของสถานเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริการและได้มีโอกาสพบปะคนไทยคนแรก คือ น.พ.ปันต์ เลาหะพันธ์ ซึ่งทำงานอยู่ที่นั่น ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องของสโมสรไลออนส์สากลต่อจากนั้น น.พ. ปันต์ ได้พา ไลออน ปันโคล ไปพบ ม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ซึ่งเป็นเพื่อนกัน และทำงานอยู่ที่สายการบินแอร์อินเดียในเวลานั้น ทั้งสามได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องไลออนส์กันอย่างกว้างขวาง และได้แนะนำให้ ไลออน ปันโคล

ได้พบปรึกษากับ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล , ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์, คุณตุ๊ วัชราธร , คุณวิชา เศรษฐบุตร และหากท่านเห็นด้วยในความคิดเห็นนี้ ก็ขอให้ท่านแนะนำคนอื่นให้อีก ไลออน ปันโคล เป็นผู้ที่มีความมานะและความตั้งใจเด็ดเดี่ยวจริงๆ ได้ไปพบท่านเหล่านั้นแต่ละคนด้วย ตนเองทั้งสิ้น ปีนั้นผ่านไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะแต่ละท่านยังไม่ให้ความสนใจในเรื่องนี้กันเท่าใด ไลออน ปันโคล ไม่ละความพยายามได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยอีกหลายครั้ง ในปีต่อมาได้เข้าเฝ้า และพบบุคคลผู้กล่าวพระนามและนามดังกล่าวบ่อยครั้ง จนสามารถโน้มน้าวให้เกิดศรัทธาในอุดมการณ์ของไลออนส์สากล ในที่สุดสามารถรวบรวมบุคคลได้ 9 ท่าน คือ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์, คุณอนันต์ จินตกานนท์, คุณสุรเทิน บุนนาค, คุณตุ๊ วัชราธร, คุณฉุน ประภาวิวัฒน์, คุณทวี เนียรกุล, นพ.ปันด์ เลาหะพันธ์ และม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ได้นัดหมายให้พบปะกันที่วังของ ม.จ.อาชวดิศ และได้ปรึกษาหารือกันอย่างจริงจัง ในที่สุดก็ได้ตกลงยอมรับที่จะร่วมมือก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น ในระยะแรกของการเตรียมการ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ได้ทรงพระกรุณาอนุญาตให้บุคคลกลุ่มนี้ไปประชุมที่ตำหนักของท่านที่ถนนเพชรบุรี ทุกเย็นวันอาทิตย์ให้ช่วยกันแปลธรรมนูญและข้อบังคับของไลออนส์สากลออกเป็นภาษาไทย เพื่อเป็นหลักให้สโมสรไลออนส์อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป เมื่อได้ตรวจทบทวนธรรมนูญและข้อบังคับภาคภาษาไทยจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ตกลงใจกันที่จะดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นเป็นแห่งแรกในเมืองไทยและช่วยกันไปชักชวนผู้ที่สนใจและใฝ่ใจในทางประกอบกิจกรรมเพื่อการกุศลให้ได้อย่างน้อย 30 ท่านมาร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น

           สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งสโมสรไลออนส์เป็นสโมสรแรกเมือ พ.ศ. 2502 สโมสรแรกตั้งคือ สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสโมสรไลออนส์สากลได้จดทะเบียนเป็นองค์การสากลโดยชอบด้วยกฏหมาย ณ สหรัฐอเมริกา และได้รับการรับรองจากประเทศที่มีสโมสรไลออนส์ตั้งอยู่ สโมสรไลออนส์ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งตั้งขึ้นตามธรรมนูญของสมาคมสโมสรไลออนส์สากลจึงมีฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรไลออนส์สากล และ สำหรับสมาชิกของแต่ละสโมสรไลออนส์ก็มีฐานะเป็นสมาชิกของสมาชิกของสมาคมไลออนส์สากลทุกคน

           

            หลังจากมีสมาชิก 30 ท่านแล้ว ได้มีการประชุมกันอีกหลายครั้งที่ปาล์มเรสตัวรองต์ หลังโรงแรมเอราวัณ โดยมี ไลออน ปันโคล มาร่วมประชุมด้วยเกือบทุกครั้ง ในที่สุดสามารถรวบรวมสมาชิกก่อตั้งได้ถึง 30 ท่านจริง ๆ ได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้ชื่อสโมสรว่า “สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Lions Club of Bangkok โดยมี ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์ เป็นนายกคนแรก ที่ประชุมยังได้มีมติให้ใช้ภาษาในการประชุมเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย สโมสรไลออนส์กรุงเทพฯ ได้ทำการจดทะเบียนต่อไลออนส์สากลขึ้นเป็นสโมสรไลออนส์แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2502 และได้จัดให้มีงานฉลองบัตรชาเตอร์ขึ้น ในวันที่ 24 ตุลาคม 2502

     

       ต่อมาสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2506 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นเกียรติอย่างสูงแก่สมาสรและแก่สมาชิกทุกคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน

      

       ในปี พ.ศ.2512 สโมสรไลออนส์ในประเทศไทยได้จัดให้มีงานฉลองครบรอบ 10 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณะกรรมการจัดงาน ฯ ขณะนั้นปรากฎว่ามีสโมสรไลออนส์อยู่เพียง 23 สโมสร ในระยะ 10 ปีต่อมา องค์กรไลออนส์ในประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะประชาชนทั่วไปได้รู้จักและยอมรับในผลงานของสโมสรไลออนส์ ปรากฏว่าในปี พ.ศ.2522 มีสโมสรไลออนส์เพิ่มขึ้นเป็น 87 สโมสร และอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ถึง 57 จังหวัด มีสมาชิกไลออนส์ทั้งสิ้นประมาณกว่า 5,000 คน

     

             สมาคมสโมสรไลออนส์สากล ได้จดทะเบียนเป็นองค์การสากลโดยชอบด้วยกฎหมาย ณ สหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรองจากประเทศต่างๆ ที่สโมสรไลออนส์ตั้งอยู่ ซึ่งตั้งขึ้นตามธรรมนูญของสมาคมสโมสรไลออนส์สากล จึงมีฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรไลออนส์สากล และ สำหรับสมาชิกของแต่ละสโมสรไลออนส์ ก็มีฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรไลออนส์สากลทุกคน

Lions Clubs International

1917

จุดเริ่มต้น

เพื่อตอบสนองต่อปัญหาสังคมที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว นักธุรกิจในชิคาโกชื่อเมลวิน โจนส์ได้เชิญชมรมธุรกิจจากทั่วสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมการประชุมที่มีการก่อตั้งสมาคมสโมสรไลออนส์

1920

มุ่งสู่สากล

เพียงสามปีหลังจากการก่อตั้งสมาคมสโมสรไลออนส์ก็กลายเป็นสากลเมื่อมีการก่อตั้ง Border Cities Lions Club ในเมืองวินด์เซอร์ ประเทศแคนาดา ในขณะนั้น Lions มีบทบาทใน 23 รัฐของสหรัฐอเมริกา โดยมีสมาชิกทั้งหมด 6,400 คน

1925

กลายเป็น "อัศวินคนตาบอด"

เฮเลน เคลเลอร์ปราศรัยกับ Lions ในการประชุมนานาชาติที่เมืองซีดาร์พอยต์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เธอท้าทายไลออนส์ให้กลายเป็น "อัศวินคนตาบอดในสงครามครูเซสเพื่อต่อต้านความมืด" สิ่งนี้เริ่มต้นภารกิจที่ยาวนานนับศตวรรษ โดยส่งผลต่อชีวิตหลายร้อยล้านชีวิตผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น

1945

ร่วมงาน UN

ไลออนส์และตัวแทนอื่นๆ จาก 46 ประเทศมาพบกันเพื่อช่วยก่อตั้งแผนก NGO ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นของไลออนส์สากลในการสร้าง "สันติภาพที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับโลก" วันนี้ Lions ยังคงทำงานร่วมกับ UN ในงาน Lions Day ประจำปีร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ของ United Nations

1957

เปิดตัว Leos

โครงการ Leo ได้รับการพัฒนาเพื่อให้เยาวชนของโลกมีโอกาสในการพัฒนาตนเองผ่านการเป็นอาสาสมัคร ปัจจุบันมีชาวลีโอถึง 200,000 คนทั่วโลก

1968

ก่อตั้งมูลนิธิไลออนส์สากล

มูลนิธิ Lions Clubs International Foundation ก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจ "เพื่อสนับสนุนความพยายามของสโมสรไลออนส์และพันธมิตรในการให้บริการชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก ให้ความหวังและส่งผลต่อชีวิตผ่านโครงการบริการและเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม" จนถึงปัจจุบัน มูลนิธิของเราได้มอบเงินช่วยเหลือมากกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์

1973

ฉลองสมาชิกครบ 1 ล้านท่าน

สโมสรไลออนส์ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ด้วยการต้อนรับสมาชิกคนที่ล้านของเราคือไลออน Barney Gill จากเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา โดยปัจจุบันเรามีสมาชิกมากกว่า 1.4 ล้านคนทั่วโลก

1985

การสนับสนุนการบรรเทาภัยพิบัติขยายวงกว้างขึ้น

LCIF มอบเงินช่วยเหลือภัยพิบัติครั้งใหญ่ครั้งแรกจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการบรรเทาภัยพิบัติแผ่นดินไหวในเม็กซิโก ทุกวันนี้ เรายังคงก้าวไปข้างหน้าในช่วงวิกฤตด้วยการเสนอเงินช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนความพยายามในการบรรเทาภัยพิบัติของเรา

1990

เริ่มโครงการพิทักษ์สายตา

Lions เปิดตัวแคมเปญเพื่อช่วยฟื้นฟูการมองเห็นและป้องกันการตาบอดในระดับโลก ผู้คนมากกว่า 488 ล้านคนได้รับผลช่วยเหลือในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

2017

ครอบ 100 ปี

ครบรอบ 100 ปีของการให้บริการชุมชนท้องถิ่นและโลก ได้รับการเฉลิมฉลองที่งาน Lions Clubs International Centennial Convention ในเมืองชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเมืองเดียวกับที่สมาคมก่อตั้งขึ้น

2022

แคมเปญ 100 ทะลุเป้าหมาย

LCIF ได้ระดมทุนเกินเป้าหมายสำหรับแคมเปญ 100: LCIF Empowering Service มีการระดมทุนได้ทั้งหมด 325 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระหว่างการรณรงค์ ซึ่งเป็นโครงการระดมทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดขององค์กรจนถึงปัจจุบัน

2023

ความร่วมมือเพื่อความมีน้ำใจ

LCIF และ Lions Quest กลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง The Choose Kindness Project ซึ่งเป็นแนวร่วมขององค์กรไม่แสวงหากำไรชั้นนำในสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนการป้องกันการกลั่นแกล้ง การมีส่วนร่วมและสุขภาพจิตของเยาวชน

bottom of page